เรื่องย่อ
หนังเกย์จากแดน “กิมจิ” เรื่องนี้ ไม่เพียงแต่จะฉายภายในประเทศเท่านั้น แต่ได้รับการคัดเลือกเขาร่วมงานเทศกาลหนังนานาชาตเบอร์ลิน และเทศกาลหนังนานาชาติฮ่องกงที่เพิ่งผ่านไปเมื่อต้นปีนี้เอง ว่าไปแล้วมาถึงวันนี้ต้องยอมรับว่า หนังเกย์หรือหนังที่มีตัวละครเป็นเกย์ (รักร่วมเพศ) และมีเรื่องราวพูดถึงชีวิตพวกเขาเหล่านั้นได้รับการสร้างออกมาอย่างต่อเนื่อง เหลียวมองไปในหนังแทบจะเกือบทุกชาติ ถ้าไม่ปากว่าตาขยิบเกินไป ต่างก็จะมีการสร้างหนังเกย์ออกมากันแทบทั้งนั้น และนับวันก็แทบจะเป็นอีกกระแสหนึ่งของวงการหนังโลก เพราะมีกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มหลัก (เกย์) ที่พร้อมจะควักกระเป๋าซื้อตั๋วเข้าไปดู บางประเทศอย่างไต้หวันในปีหนึ่ง ๆ จะมีหนังเกย์ที่ทำรายได้ติดอันดับต้น ๆ ของอันดับหนังทำเงินประจำปี และอีกหลายประเทศถึงกับมีการจัดเทศกาลเกย์และ เลสเบี้ยนขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราวด้วยซ้ำ
“โน รีเกร็ท” ไม่ใช่หนังเกย์ในแบบ “คอเมดี้” ที่นักดูหนังบ้านเราคุ้นเคย แต่นี่เป็นงาน “ดราม่า” หรือจะเรียกว่า “โรแมนติค-ดราม่า” ก็น่าจะได้ ที่พูดถึงเรื่องราวของเกย์ และความรักของเกย์ที่มีฉากหลังเป็นกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้
แม้จะเทียบกับจำนวนหนังเกย์ที่สร้างกันออกมาจะเป็นสัดส่วนที่ยังน้อยกว่าหนังแนวอื่น แต่เนื้อหาของ “โน รีเกร็ท” ก็ยังมีวังวนที่ต้องบอกว่า ไม่ใช่เนื้อหาใหม่จากหนังเกย์ที่ผ่าน ๆ มาเอามาเล่า ราวกับจะเป็นการบอกให้รู้ว่า เรื่องราวของชาวเกย์ก็ดูจะไม่พ้นวัฎจักรความเป็นไปเช่นนี้ได้
หนังเปิดเรื่องด้วยชีวิตของ ซู-มิน เด็กจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า (ชนบท) พอเติบโตเป็นวัยรุ่น (18 ปี) ก็ออกมาสู่โลกภายนอกมุ่งแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าโดยตัดสินใจมุ่งหน้าสู่กรุงโซล ด้วยการตั้งใจจะหางานทำเพื่อเป็นทุนในการส่งเสียเขาให้เข้าไปเรียนสูง ๆ ถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่ชีวิตจริงมันไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จากการทำงานในโรงงานในเวลากลางวัน พร้อมกับหารายได้พิเศษเพิ่มด้วยการรับจ้างเป็นคนขับรถพิเศษในเวลากลางคืน ซู-มิน มีอันถูกบีบจนออกจากงานโรงงาน มารับจ้างล้างจานเทขยะในร้านอาหาร ก็ถูกกลั่นแกล้งอีก ในที่สุด ซู-มิน ก็กระโจนเข้าทำอาชีพผู้ชายขายตัวในบาร์เกย์ จนกระทั่งได้พบกับ แจ-มิน ลูกชายนักธุรกิจใหญ่ที่เป็นเกย์ซึ่งมาเที่ยวบาร์ในคืนหนึ่ง แจ-มิน ให้ความสนใจ ซู-มิน และเลือกที่จะมีอะไรกับเขา แต่กระนั้น ซู-มิน ก็มีทีท่าเย็นชากับ เจ-มิน เพราะเขาคือลูกค้าที่ครั้งหนึ่งเคยใช้บริการให้เขาเป็นโชเฟอร์ขับรถให้ ซึ่งพยายามลวนลาม ซู-มิน มาก่อน ไม่เพียงเท่านั้น แจ-มิน คือ ลูกชายเจ้าของโรงงานที่ ซู-มิน เคยทำงานอยู่ ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ ซู-มิน ตัดสินออกจากงาน แต่ยิ่ง ซู-มิน วางท่าห่างเหินดูจะยิ่งเป็นแรงท้าทายให้ แจ-มิน ยิ่งเพิ่มความหลงใหล ซู-มิน มากไปอีกทั้ง ๆ ที่ แจ-มิน มีผู้หญิงที่พ่อแม่เลือกให้ที่มีกำหนดจะต้องแต่งงานอีกไม่นาน ในที่สุด แจ-มิน ก็ทำให้ ซู-มิน ในอ่อนกับเขาลง และพัฒนากลายเป็นความรักต่อกัน แต่ความรักของทั้งคู่ก็ต้องพบอุปสรรคจากพ่อแม่ของ แจ-มิน ที่ไม่เพียงแต่ร่ำรวย แต่ยังเป็นคนหัวเก่า ซึ่งรับไม่ได้กับเรื่องนี้ พวกเขาทำทุกอย่างเพื่อดึง แจ-มิน ออกไปจากชีวิต ซู-มิน ในเวลาที่ ซู-มิน เผลอใจมองหัวใจให้กับ แจ-มิน ไปแล้ว และพยายามทำทุกอย่างเพื่อไขว่คว้าเขามาเป็นของตน
ดูเหมือน 2 ดารานำทั้ง ซู-มิน และ แจ-มิน จะเป็นนักแสดงหน้าใหม่ แต่ก็สามารถสวมบทเกย์ได้อย่างดูสมจริงสมใจ และไม่มีท่าทีเก้อเขินกับฉากเลิฟซีนต่าง ๆ แต่อย่างใด ยิ่ง ลี ยัง-ฮุน ที่รับบท ซู-มิน ที่เป็นตัวเดินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบทุ่มเทแสดงทุกบทบาท กล้าเล่น เพราะมีหลายฉากที่ต้องถอดเป็นถอด โป๊เป็นโป๊ และแสดงออกมาอย่างเชื่อว่า เหมือนดูเป็นเกย์จริง ๆ (คอสตูม การแต่งตัวแต่ละช่วงก็ทำได้สอดคล้องไปกับเหตุการณ์แต่ละช่วง) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้หนังเดินไปจนถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้
ฉากท้าย ๆ ของหนังเป็นการแสดงให้เห็นอีกด้านหนึ่งของเกย์ที่นอกจากความอ่อนไหวแล้ว ก็ยังมีด้านหนึ่งของความเป็นผู้ชาย หนังทำท่ามีจุดหักมุมที่ทำท่าจะรุนแรงจากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็ยังมีจุดผ่อนคลายด้วยตัวของมันที่อาจท้าทายการคาดเดาการเดินไปของเรื่องอยู่
หนังเกย์จากแดน “กิมจิ” เรื่องนี้ ไม่เพียงแต่จะฉายภายในประเทศเท่านั้น แต่ได้รับการคัดเลือกเขาร่วมงานเทศกาลหนังนานาชาตเบอร์ลิน และเทศกาลหนังนานาชาติฮ่องกงที่เพิ่งผ่านไปเมื่อต้นปีนี้เอง ว่าไปแล้วมาถึงวันนี้ต้องยอมรับว่า หนังเกย์หรือหนังที่มีตัวละครเป็นเกย์ (รักร่วมเพศ) และมีเรื่องราวพูดถึงชีวิตพวกเขาเหล่านั้นได้รับการสร้างออกมาอย่างต่อเนื่อง เหลียวมองไปในหนังแทบจะเกือบทุกชาติ ถ้าไม่ปากว่าตาขยิบเกินไป ต่างก็จะมีการสร้างหนังเกย์ออกมากันแทบทั้งนั้น และนับวันก็แทบจะเป็นอีกกระแสหนึ่งของวงการหนังโลก เพราะมีกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มหลัก (เกย์) ที่พร้อมจะควักกระเป๋าซื้อตั๋วเข้าไปดู บางประเทศอย่างไต้หวันในปีหนึ่ง ๆ จะมีหนังเกย์ที่ทำรายได้ติดอันดับต้น ๆ ของอันดับหนังทำเงินประจำปี และอีกหลายประเทศถึงกับมีการจัดเทศกาลเกย์และ เลสเบี้ยนขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราวด้วยซ้ำ
“โน รีเกร็ท” ไม่ใช่หนังเกย์ในแบบ “คอเมดี้” ที่นักดูหนังบ้านเราคุ้นเคย แต่นี่เป็นงาน “ดราม่า” หรือจะเรียกว่า “โรแมนติค-ดราม่า” ก็น่าจะได้ ที่พูดถึงเรื่องราวของเกย์ และความรักของเกย์ที่มีฉากหลังเป็นกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้
แม้จะเทียบกับจำนวนหนังเกย์ที่สร้างกันออกมาจะเป็นสัดส่วนที่ยังน้อยกว่าหนังแนวอื่น แต่เนื้อหาของ “โน รีเกร็ท” ก็ยังมีวังวนที่ต้องบอกว่า ไม่ใช่เนื้อหาใหม่จากหนังเกย์ที่ผ่าน ๆ มาเอามาเล่า ราวกับจะเป็นการบอกให้รู้ว่า เรื่องราวของชาวเกย์ก็ดูจะไม่พ้นวัฎจักรความเป็นไปเช่นนี้ได้
หนังเปิดเรื่องด้วยชีวิตของ ซู-มิน เด็กจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า (ชนบท) พอเติบโตเป็นวัยรุ่น (18 ปี) ก็ออกมาสู่โลกภายนอกมุ่งแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าโดยตัดสินใจมุ่งหน้าสู่กรุงโซล ด้วยการตั้งใจจะหางานทำเพื่อเป็นทุนในการส่งเสียเขาให้เข้าไปเรียนสูง ๆ ถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่ชีวิตจริงมันไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จากการทำงานในโรงงานในเวลากลางวัน พร้อมกับหารายได้พิเศษเพิ่มด้วยการรับจ้างเป็นคนขับรถพิเศษในเวลากลางคืน ซู-มิน มีอันถูกบีบจนออกจากงานโรงงาน มารับจ้างล้างจานเทขยะในร้านอาหาร ก็ถูกกลั่นแกล้งอีก ในที่สุด ซู-มิน ก็กระโจนเข้าทำอาชีพผู้ชายขายตัวในบาร์เกย์ จนกระทั่งได้พบกับ แจ-มิน ลูกชายนักธุรกิจใหญ่ที่เป็นเกย์ซึ่งมาเที่ยวบาร์ในคืนหนึ่ง แจ-มิน ให้ความสนใจ ซู-มิน และเลือกที่จะมีอะไรกับเขา แต่กระนั้น ซู-มิน ก็มีทีท่าเย็นชากับ เจ-มิน เพราะเขาคือลูกค้าที่ครั้งหนึ่งเคยใช้บริการให้เขาเป็นโชเฟอร์ขับรถให้ ซึ่งพยายามลวนลาม ซู-มิน มาก่อน ไม่เพียงเท่านั้น แจ-มิน คือ ลูกชายเจ้าของโรงงานที่ ซู-มิน เคยทำงานอยู่ ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ ซู-มิน ตัดสินออกจากงาน แต่ยิ่ง ซู-มิน วางท่าห่างเหินดูจะยิ่งเป็นแรงท้าทายให้ แจ-มิน ยิ่งเพิ่มความหลงใหล ซู-มิน มากไปอีกทั้ง ๆ ที่ แจ-มิน มีผู้หญิงที่พ่อแม่เลือกให้ที่มีกำหนดจะต้องแต่งงานอีกไม่นาน ในที่สุด แจ-มิน ก็ทำให้ ซู-มิน ในอ่อนกับเขาลง และพัฒนากลายเป็นความรักต่อกัน แต่ความรักของทั้งคู่ก็ต้องพบอุปสรรคจากพ่อแม่ของ แจ-มิน ที่ไม่เพียงแต่ร่ำรวย แต่ยังเป็นคนหัวเก่า ซึ่งรับไม่ได้กับเรื่องนี้ พวกเขาทำทุกอย่างเพื่อดึง แจ-มิน ออกไปจากชีวิต ซู-มิน ในเวลาที่ ซู-มิน เผลอใจมองหัวใจให้กับ แจ-มิน ไปแล้ว และพยายามทำทุกอย่างเพื่อไขว่คว้าเขามาเป็นของตน
ดูเหมือน 2 ดารานำทั้ง ซู-มิน และ แจ-มิน จะเป็นนักแสดงหน้าใหม่ แต่ก็สามารถสวมบทเกย์ได้อย่างดูสมจริงสมใจ และไม่มีท่าทีเก้อเขินกับฉากเลิฟซีนต่าง ๆ แต่อย่างใด ยิ่ง ลี ยัง-ฮุน ที่รับบท ซู-มิน ที่เป็นตัวเดินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบทุ่มเทแสดงทุกบทบาท กล้าเล่น เพราะมีหลายฉากที่ต้องถอดเป็นถอด โป๊เป็นโป๊ และแสดงออกมาอย่างเชื่อว่า เหมือนดูเป็นเกย์จริง ๆ (คอสตูม การแต่งตัวแต่ละช่วงก็ทำได้สอดคล้องไปกับเหตุการณ์แต่ละช่วง) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้หนังเดินไปจนถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้
ฉากท้าย ๆ ของหนังเป็นการแสดงให้เห็นอีกด้านหนึ่งของเกย์ที่นอกจากความอ่อนไหวแล้ว ก็ยังมีด้านหนึ่งของความเป็นผู้ชาย หนังทำท่ามีจุดหักมุมที่ทำท่าจะรุนแรงจากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็ยังมีจุดผ่อนคลายด้วยตัวของมันที่อาจท้าทายการคาดเดาการเดินไปของเรื่องอยู่
|