เรื่องย่อ
I’m a cyborg but that’s ok ( ) หรือในชื่อไทย “OK! ถึงจะบ้า ก็บ้าร้าก” ภาพยนตร์เกาหลีที่ได้นักร้องซูเปอร์สตาร์แห่งเอเชีย อย่าง จอง จีฮุน (A love to kill, Fullhouse) หรือที่คนดูรู้จักกันในนาม เรนหรือพี มาแสดงนำในผลงานจอเงินครั้งแรก ประกบคู่กับนางเอกสาวมาแรงของเกาหลี อิม ซูจอง (Lump of Sugar, Sad Movies, Tales of two sisters) จากการกำกับของผู้กำกับมีชื่อที่ฝากผลงานไว้อย่างมากมาย นาม ปาร์ค ชานอุค (Oldboy, Sympathy for Lady Vengeance) จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นที่จับตามองอย่างมากในเวลาที่ออกฉายในประเทศเกาหลีและประเทศอื่นๆในเวลาต่อมา รางวัลที่เป็นเครื่องการันตีถึงความสำเร็จของเรื่องนี้ คือการได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งการสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม (Alfred Bauer Prize) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ครั้งที่ 57 ในปีนี้เอง
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหญิงสาวนาม ชา ยองกูล (อิม ซูจอง) ซึ่งตัวเธอเชื่อมาตลอดว่าเธอคือหุ่นยนต์ไซบอร์ก ไม่ใช่คนแต่อย่างใด มีชีวิตอยู่ได้โดยการชาร์จพลังงานกับแบตเตอรี่แทนการกินข้าว กับ ปาร์ค อิลซุน (จอง จีฮุน) ผู้ที่คิดเข้าข้างตัวเองว่า เขาเป็นคนที่สามารถขโมยความสามารถของคนอื่นๆมาใช้ได้ เขามักจะสวมหน้ากากอยู่เสมอๆเพื่อที่เขาจะได้รู้สึกว่าเขาจะไม่มีวันหายไปจากโลกนี้เฉยๆ วันหนึ่ง ยองกูลถูกส่งตัวมายังโรงพยาบาล ชินเซเก โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยจิตเวท ที่เต็มไปด้วยความบ๊องส์และจินตนาการที่ไม่สิ้นสุด เพื่อเข้ารับการรักษา ณ ที่แห่งนั้นไม่มีใครเชื่อว่าเธอเป็นหุ่นยนต์ (ตามที่เธอเข้าใจ) จนเมื่ออิลซุนไปเห็นเธอคุยกับเครื่องขายน้ำอัตโนมัติอยู่ เขาก็ตามสังเกตยองกูลเงียบๆมาตลอด ความรักก็ค่อยๆก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ โดยที่ทั้งสองคนก็ไม่รู้ว่ามันเริ่มจากตรงไหน แต่อิลซุนรู้แต่เพียงว่า เขาจะทำทุกอย่างเพื่อให้ยองกูลมีความสุขให้ได้
ภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำให้คนดูสามารถจินตนาการและหัวเราะหรืออมยิ้มได้ตลอดทั้งเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นฉากที่พระเอก นางเอกเจอกันตรงตู้เครื่องน้ำอัตโนมัติครั้งแรก แค่ท่าเดินของอิลซุนก็ทำให้บางคนถึงกับอมยิ้มได้แล้ว หรือจะเป็นท่าชาร์จแบตเตอรี่แทนการกินข้าวของยองกูล การแสดงของเรนและอิมซูจอง สามารถทำให้คนดูเชื่อว่าพวกเขาเป็นตัวละครนั้นจริงๆ ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังให้แง่คิดสอดแทรกในเรื่องของความรักที่บริสุทธิ์อีกด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ฉากที่ยองกูลหมดสติไปเนื่องจากไม่ได้กินข้าวมาเป็นเวลานาน และเมื่ออิลซุนเห็นดังนั้น เขาจึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อช่วยยองกูลให้กินข้าวให้ได้ในแบบฉบับที่คนบ้าเท่านั้นที่จะทำได้ (และมันก็ได้ผลซะด้วย) แต่ใช่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะดีเลิศไปซะทุกอย่าง ฉากรุนแรงบางฉากก็มีให้เห็นเช่นกัน จึงแปลกใจนิดหน่อยที่ได้เรทภาพยนตร์จากทางเกาหลีแค่ PG-12 เท่านั้น อีกเรื่องหนึ่งเห็นจะเป็นตรงที่บางฉากในภาพยนตร์ไม่สามารถสื่อกับคนดูได้ว่าจุดสำคัญของฉากนั้นอยู่ตรงไหน หรือ ที่ๆเรามักจะเรียกกันว่า มัน abstract เกินไปนั่นเอง อย่างไรก็ดีในตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็สามารถสื่อให้คนดูรู้ว่าหลังฝนตก ฟ้าย่อมใสแน่นอน (ใครไม่คิดแบบนี้ มาเอาเรื่องกับคนวิจารณ์ได้เลย)
ถึงแม้ว่ายอดผู้ชมในเกาหลีจะไม่มากเท่าที่แฟนๆตั้งความหวังเอาไว้ แต่ถ้าหากใครที่เป็นแฟนของเรน และ อิม ซูจอง และอยากเห็นพวกเขาในการแสดงที่แตกต่างออกไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แฟนๆไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง แล้วอย่าลืมไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้กันได้ในวันที่ 22 มีนาคม ที่จะถึงนี้
I’m a cyborg but that’s ok ( ) หรือในชื่อไทย “OK! ถึงจะบ้า ก็บ้าร้าก” ภาพยนตร์เกาหลีที่ได้นักร้องซูเปอร์สตาร์แห่งเอเชีย อย่าง จอง จีฮุน (A love to kill, Fullhouse) หรือที่คนดูรู้จักกันในนาม เรนหรือพี มาแสดงนำในผลงานจอเงินครั้งแรก ประกบคู่กับนางเอกสาวมาแรงของเกาหลี อิม ซูจอง (Lump of Sugar, Sad Movies, Tales of two sisters) จากการกำกับของผู้กำกับมีชื่อที่ฝากผลงานไว้อย่างมากมาย นาม ปาร์ค ชานอุค (Oldboy, Sympathy for Lady Vengeance) จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นที่จับตามองอย่างมากในเวลาที่ออกฉายในประเทศเกาหลีและประเทศอื่นๆในเวลาต่อมา รางวัลที่เป็นเครื่องการันตีถึงความสำเร็จของเรื่องนี้ คือการได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งการสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม (Alfred Bauer Prize) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ครั้งที่ 57 ในปีนี้เอง
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหญิงสาวนาม ชา ยองกูล (อิม ซูจอง) ซึ่งตัวเธอเชื่อมาตลอดว่าเธอคือหุ่นยนต์ไซบอร์ก ไม่ใช่คนแต่อย่างใด มีชีวิตอยู่ได้โดยการชาร์จพลังงานกับแบตเตอรี่แทนการกินข้าว กับ ปาร์ค อิลซุน (จอง จีฮุน) ผู้ที่คิดเข้าข้างตัวเองว่า เขาเป็นคนที่สามารถขโมยความสามารถของคนอื่นๆมาใช้ได้ เขามักจะสวมหน้ากากอยู่เสมอๆเพื่อที่เขาจะได้รู้สึกว่าเขาจะไม่มีวันหายไปจากโลกนี้เฉยๆ วันหนึ่ง ยองกูลถูกส่งตัวมายังโรงพยาบาล ชินเซเก โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยจิตเวท ที่เต็มไปด้วยความบ๊องส์และจินตนาการที่ไม่สิ้นสุด เพื่อเข้ารับการรักษา ณ ที่แห่งนั้นไม่มีใครเชื่อว่าเธอเป็นหุ่นยนต์ (ตามที่เธอเข้าใจ) จนเมื่ออิลซุนไปเห็นเธอคุยกับเครื่องขายน้ำอัตโนมัติอยู่ เขาก็ตามสังเกตยองกูลเงียบๆมาตลอด ความรักก็ค่อยๆก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ โดยที่ทั้งสองคนก็ไม่รู้ว่ามันเริ่มจากตรงไหน แต่อิลซุนรู้แต่เพียงว่า เขาจะทำทุกอย่างเพื่อให้ยองกูลมีความสุขให้ได้
ภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำให้คนดูสามารถจินตนาการและหัวเราะหรืออมยิ้มได้ตลอดทั้งเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นฉากที่พระเอก นางเอกเจอกันตรงตู้เครื่องน้ำอัตโนมัติครั้งแรก แค่ท่าเดินของอิลซุนก็ทำให้บางคนถึงกับอมยิ้มได้แล้ว หรือจะเป็นท่าชาร์จแบตเตอรี่แทนการกินข้าวของยองกูล การแสดงของเรนและอิมซูจอง สามารถทำให้คนดูเชื่อว่าพวกเขาเป็นตัวละครนั้นจริงๆ ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังให้แง่คิดสอดแทรกในเรื่องของความรักที่บริสุทธิ์อีกด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ฉากที่ยองกูลหมดสติไปเนื่องจากไม่ได้กินข้าวมาเป็นเวลานาน และเมื่ออิลซุนเห็นดังนั้น เขาจึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อช่วยยองกูลให้กินข้าวให้ได้ในแบบฉบับที่คนบ้าเท่านั้นที่จะทำได้ (และมันก็ได้ผลซะด้วย) แต่ใช่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะดีเลิศไปซะทุกอย่าง ฉากรุนแรงบางฉากก็มีให้เห็นเช่นกัน จึงแปลกใจนิดหน่อยที่ได้เรทภาพยนตร์จากทางเกาหลีแค่ PG-12 เท่านั้น อีกเรื่องหนึ่งเห็นจะเป็นตรงที่บางฉากในภาพยนตร์ไม่สามารถสื่อกับคนดูได้ว่าจุดสำคัญของฉากนั้นอยู่ตรงไหน หรือ ที่ๆเรามักจะเรียกกันว่า มัน abstract เกินไปนั่นเอง อย่างไรก็ดีในตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็สามารถสื่อให้คนดูรู้ว่าหลังฝนตก ฟ้าย่อมใสแน่นอน (ใครไม่คิดแบบนี้ มาเอาเรื่องกับคนวิจารณ์ได้เลย)
ถึงแม้ว่ายอดผู้ชมในเกาหลีจะไม่มากเท่าที่แฟนๆตั้งความหวังเอาไว้ แต่ถ้าหากใครที่เป็นแฟนของเรน และ อิม ซูจอง และอยากเห็นพวกเขาในการแสดงที่แตกต่างออกไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แฟนๆไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง แล้วอย่าลืมไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้กันได้ในวันที่ 22 มีนาคม ที่จะถึงนี้
|